เทศกาลบอลลูนนานาชาติซากะ
เทศกาลบอลลูนแห่งจังหวัดซะกะ (Saga Balloon Festival) คือเทศกาลที่นักท่องเที่ยวจะได้ชมบอลลูนกว่า 100 ลูกจากทั่วโลก รับรองว่าภาพของบอลลูนหลากสีสันที่ทยอยกันล่องลอยขึ้นสู่ท้องฟ้าใสแห่งฤดูใบไม้ร่วงจะเป็นที่ตื่นตาตื่นใจสำหรับทั้งผู้ใหญ่และเด็กอย่างแน่นอน และหากได้เก็บภาพสวยๆ ของเด็กคู่กับบอลลูนก็คงจะเป็นความทรงจำที่ดีสำหรับการท่องเที่ยวอีกด้วย นอกจากนี้หากออกไปไกลอีกสักหน่อย ก็จะได้เห็นท้องทุ่ง “ชิจิเมนโซ (Shichimenso)” วัชพืชชนิดหนึ่งที่มีสีแดงสวยและแม้จะไม่ใช่ช่วงงานเทศกาลบอลลูน แต่ที่จังหวัดซะกะแห่งนี้ก็ยังมีพิพิธภัณฑ์บอลลูนไว้ให้นักท่องเที่ยวได้เพลิดเพลินกับความรู้เกี่ยวกับบอลลูนอีกด้วย
ขอขอบคุณรูปภาพจาก : jnto.or.th
เทศกาลตุ๊กตาเด็กผู้หญิงบริเวณปราสาทซากะ
ตุ๊กตาฮินะ เป็นตุ๊กตาแบบญี่ปุ่นที่ประดับในบ้านให้เป็นเหมือนตัวตายตัวแทนของเด็ก เพื่อปกป้องจากอุบัติเหตุและความเจ็บป่วย พร้อมกับขอให้เด็กเติบโตขึ้นอย่างแข็งแรง ในอดีตญี่ปุ่นมีความเชื่อเรื่องการใช้ตุ๊กตาเป็นตัวแทนรับสิ่งอัปมงคลอยู่แล้ว แต่การนำมาผูกเข้ากับการอธิษฐานให้เติบโตอย่างแข็งแรงนี้ว่ากันว่าเกิดขึ้นในช่วงยุคเอโดะ
ขอขอบคุณรูปภาพจาก : matcha-jp.com
เทศกาลเครื่องปั้นดินเผาอาริตะ
อาริตะ (有田, Arita)เป็นชื่อของเมืองเล็กๆที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดซาก้า(Saga Prefectureในภูมิภาคคิวชู(Kyushu)คิดว่าหลายๆคนอาจจะไม่คุ้นหูกับเมืองนี่นักแต่บอกเลยว่าในญี่ปุ่นนี่เมืองอาริตะมีชื่อเสียงไม่เบาเลย เพราะเมืองแห่งนี้นับว่าเป็นอันดับต้นๆด้านเครื่องปั้นดินเผา โดยเฉพาะเครื่องเคลือบดินเผา(Porcelain) เรียกว่า อาริตะ-ยากิ(Arita-yaki)ที่เป็นเสมือนเอกลักษณ์ของเครื่องปั้นดินเผาของที่นี่เลย ดังขนาดนี้แน่นอนว่าสถานที่ท่องเที่ยวของเมืองจะต้องเกี่ยวข้องกับเครื่องปั้นดินเผาอย่างแน่นอน โดยแหล่งท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะอยู่ที่เมืองเก่าที่อยู่ห่างจากตัวเมืองอาริตะออกมาประมาณ 2.5 กิโลเมตร ที่สถานีรถไฟคามิ-อาริตะ(Kami-Arita Station) ซึ่งจะมีทั้งวัด ศาลเจ้า หรือแม้แต่พิพิธภัณฑ์ที่ล้วนจะมีเครื่องปั้นดินเผาเป็นตัวชูโรงทั้งนั้น
ขอขอบคุณรูปภาพจาก : allabout-japan.com
เทศกาลชักเย่อใหญ่เมืองโยบุโกะ
เทศกาลดั้งเดิมซึ่งเริ่มต้นโดยท่านโทโยโทมิ ฮิเดโยชิ ผู้รวบรวมแว่นแคว้นให้เป็นปึกแผ่นประมาณ 400 ปีก่อน เริ่มต้นจากการดึงเชือกคล้องเรือรบเพิ่อสร้างความฮึกเหิมให้กับเหล่าทหารกล้า เทศกาลจัดเป็นประจำ 2 วันทุกวันเสาร์และอาทิตย์แรกของเดือนมิถุนายน โดยวันเสาร์จะเป็นการชักเย่อของเด็ก และวันอาทิตย์เป็นพิธีของผู้ใหญ่
ชาวเมืองจะแบ่งเป็นออกเป็นสองฝ่าย กลุ่มชายหญิงไม่จำกัดอายุจะแข่งขันชักเย่อเชือกขนาดใหญ่ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 ซม. ยาว 200 เมตร ใช้เสียงกลองและลูกศรไฟเป็นสัญลักษณ์เริ่มต้นการแข่งขัน แต่ละฝ่ายเป็นตัวแทนของภาคเกษตรกรรม และภาคประมง หากทีมใดชนะ ผลิตผลในปีนั้นจะอุดมสมบูรณ์ ใช้ระบบแข่งชนะ 2 ใน 3 ครั้งจึงถือว่าผลเป็นเอกฉันท์ลวดลายกระเบื้องบนถนนที่จัดพิธีชักเย่อสื่อความหมายถึงทั้งภาคเกษตรกรรมและภาคการประมง นักท่องเที่ยวทั่วไปสามารถเข้าร่วมการชักเย่อได้เช่นกันสื่อความหมายถึงภาคประมงนักท่องเที่ยวทั่วไปสามารถเข้าร่วมการชักเย่อได้
ขอขอบคุณรูปภาพจาก : ohmatsuri.com
สนใจทัวร์ญี่ปุ่นแบบจอยกรุ๊ป คลิกเลย